Friday, March 15, 2019

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9 💦


วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2562
 ความรู้ที่ได้รับ
                  วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาได้เข้าไปรับอุปกรณ์ที่ยังขาดเหลือในการทำสื่อการเรียนการสอนทางคณิตศาสตร์ และให้นักศึกษาได้ลงมือทำสื่อการเรียนการสอนทางคณิตศาสตร์เพื่อที่จะนำมาส่งอาจารย์ในอาทิตย์ถัดไป 







รูปภาพกิจกรรม






บันทึกการเรียนครั้งที่ 8 💦


วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2562
 ความรู้ที่ได้รับ
                    วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทั้งสองกลุ่มเรียนมารวมกันเพื่อที่จะแจกอุปกรณืพร้อมๆกัน หลังจากนั้นอาจารย์ได้นำอุปกรณ์ทำสื่อต่างๆที่นักศึกษาต้องการ มาให้นักศึกษาเพื่อที่นักศึกษาจะได้นำไปทำสื่อการเรียนการสอนที่อาจารย์ได้มอบหมายให้ไปทำ และยังมีบางกลุ่มที่ยังได้ของไม่ครบ อาจารย์ให้นักศึกษาบอกจำนวนของที่ขาดและไม่ครบ เพื่อที่อาจารย์จะได้จัดหามาให้ในครั้งต่อไป 








รูปภาพกิจกรรม


บรรยากาศในห้องเรียน : บรรยากาศเย็นสบาย แต่พื้นที่ค่อนข้างน้อยในการนำนักศึกษาทั้งสองกลุ่ม                                            มารวมกัน แต่การแจกอุปกรณ์ก็ดำเนินไปด้วยดี








บันทึกการเรียนครั้งที่ 7 💦


วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2562
 ความรู้ที่ได้รับ
                  การเรียนการสอนวันนี้อาจารย์ได้พูดคุยอธิบายเกี่ยวกับสื่อทางคณิตศาสตร์และการออกแบบสื่อการเรียนการสอน ที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย เรื่องสาระมาตรฐานทางคณิตศาสตร์ ทฤษฎีพัฒนาการของเพียเจท์ เรื่องจำนวนและการดำเนินการ หลังจากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่ม 2-3 คน เพื่อทำสื่อการเรียนการสอน แล้วให้คนในกลุ่มคิดออกแบบสื่อการเรียนการสอนแล้วเสนออาจารย์ กลุ่มของดิฉันได้เป็นสื่อกราฟเส้น

สาระมาตราฐานทางคณิตศาสตร์
            1.จำนวนและการดำเนินการ
            2.การวัด
            3.เรขาคณิต
            4.พีชคณิต
            5.การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
            6.ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 

               -  ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นการทำงานที่สัมพันธ์กับการทำงานของสมอง 
               ความรู้ ⇨ สมอง ⇨ ซึมซับ+รับรู้ ⇨ วิเคราะห์ ⇨ เกิดเป็นโครงสร้างความรู้ใหม่
การเล่น เป็นวิธีการที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และเป็นเครื่องมือของการเรียนรู้ของเด็กเมื่อเกิดการเรียนรู้จะทำให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็ก(ถ้าไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงแสดงว่าเด็กแค่เกิดการ รับรู้และเข้าใจ)

ทฤษฎีพัฒนาการของเพียเจท์
          1. ขั้นความรู้แตกต่าง (Absolute Differences) เด็กเริ่มรับรู้ในความแตกต่างของสิ่งของที่มองเห็น
          2. ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม (Opposition) ขั้นนี้เด็กรู้ว่าของต่างๆ มีลักษณะตรงกันข้ามเป็น 2 ด้าน เช่น มี-ไม่มี หรือ เล็ก-ใหญ่
          3. ขั้นรู้หลายระดับ (Discrete Degree) เด็กเริ่มรู้จักคิดสิ่งที่เกี่ยวกับลักษณะที่อยู่ตรงกลางระหว่างปลายสุดสอง ปลาย เช่น ปานกลาง น้อย
          4. ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง (Variation) เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น บอกถึงความเจริญเติบโตของต้นไม้
          5. ขั้นรู้ผลของการกระทำ (Function) ในขั้นนี้เด็กจะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลง
          6. ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว (Exact Compensation) เด็กจะรู้ว่าการกระทำให้ของสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลต่ออีกสิ่งหนึ่งอย่างทัดเทียมกัน

จำนวนและการดำเนินการ ซึ่งแต่ล่ะกลุ่มได้เสนอสื่อ มีดังนี้
          กลุ่มที่ 1 เรื่องตัวเลข
          กลุ่มที่ 2 จำนวน
          กลุ่มที่ 3 การวัด
          กลุ่มที่ 4 กราฟแท่ง 
          กลุ่มที่ 5 กราฟเส้น
          กลุ่มที่ 6 ความสัมพันธ์สองแก่น
          กลุ่มที่ 7 คานดีดจากไม้ไอติม
          กลุ่มที่ 8 ร้อยลูกปัดฝาขวด
          กลุ่มที่ 9 บวกเลขจากภาพ






รูปภาพกิจกรรม

คำศัพท์
1. Knowledge              ความรู้
2. Brain                       สมอง
3. Absorbing               การซึมซับ
4. Recognition            การรับรู้
5. Analyze                  วิเคราะห์
6. New knowledge      ความรู้ใหม่
7. Measurement         การวัด
8. Bar graph               กราฟแท่ง
9. Line graph              กราฟเส้น
10.Sense                   ประสาทสัมผัส


บรรยากาศในห้องเรียน : บรรยากาศในห้องเรียนเย็นสบาย พื้นที่ไม่อึดอัดเกินไปเรียนสบาย อาจารย์สอน                                               เข้าใจเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้คิด ให้นักศึกษาได้เข้าใจมาขึ้น